ยุคที่ ๑

ยุคที่ ๑

ยุคที่ ๑ : เริ่มต้น(สุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)

 

 

การจัดการศึกษาของไทยยุคเริ่มต้น ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งราชจักรีวงศ์ เป็นยุคที่ใช้เวลาในการเริ่มต้นของการจัดการศึกษาไทย โดยนับตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น เพื่อใช้เป็นอักษรประจำชาติและใช้สำหรับการเขียนและการอ่านของคนไทยหลังจากที่มีการใช้ภาษาของชาติอื่นที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนการสถาปนาสุโขทัยเป็นราชธานี

ความสำคัญของการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสำคัญ จะมีก็แต่เฉพาะผู้ที่สนใจบางกลุ่ม บางคน เท่านั้น และจะขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่จะให้ความสำคัญกับการศึกษา ยามใดที่ชาติบ้านเมืองสงบสุข ไม่มีสงคราม ทั้งสงครามภายในและสงครามจากภายนอกประเทศ ก็จะมีเวลาที่จะทะนุบำรุงศาสนา และให้ความสำคัญกับการศึกษาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

การศึกษาในยุคเริ่มต้น มีเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่มีความสำคัญและส่งผลต่อความเป็นชาติไทยมาจนปัจจุบัน

           ๑. การประดิษฐ์อักษรไทย

           ๒. ไตรภูมิพระร่วง

           ๓. จินดามณี

           ๔. การจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย – รัตนโกสินทร์ตอนต้น

           ๕. แบบเรียนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

           ๖. การตั้งโรงพิมพ์

บทสรุป

           การประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการที่ไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง หลังจากที่ใช้ตัวอักษรของชาติอื่นมาก่อน ซึ่งอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ขึ้นนี้ มีการพัฒนามาเป็นลำดับ จนเป็นอักษรไทยที่ใช้อยู่จนปัจจุบัน

           นอกจากเป็นอักษรประจำชาติ ใช้สำหรับการเขียนและอ่านแล้ว อักษรไทยยังใช้บันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ จนนำไปสู่การจัดทำหนังสือหรือตำรา วรรณกรรม วรรณคดีต่าง ๆ

 

ผู้เรียบเรียง อาจารย์สุชาติ  วงศ์สุวรรณ

อาจารย์รวิวรรณ  ภาคพรต