ยุคที่ ๒
ยุคที่ ๒ : ปฏิรูปการศึกษา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือได้ว่าเป็นยุคที่ประเทศไทยอยู่ในยุคการปฏิรูปในทุกด้าน ไม่ว่าการเมือง การปกครอง การคมนาคม เศรษฐกิจ และการศึกษา เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ มีการเสด็จต่างประเทศ การส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ ตลอดจนภัยคุกคามจากชาติตะวันตก ทำให้ต้องทำการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน
ในด้านการศึกษา ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ๔๒ ปีที่ทรงครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอย่างมากมายเพื่อให้การจัดการศึกษาตามแบบใหม่ทัดเทียมอารยประเทศ
๑. การตั้งโรงเรียนหลวง (โรงสกูลหลวง)
๒. การให้ใช้แบบเรียนหลวง ๖ เล่ม
๓. การตั้งโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของไทย “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม”
๗. การเปลี่ยนแบบเรียนหลวง ๖ เล่ม เป็นแบบเรียนเร็ว ๓ เล่ม
๙. กำหนดพิกัดสำหรับการศึกษา ร.ศ. ๑๑๑
๑๒. ประกาศใช้แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕
๑๓. หลักสูตรสำหรับสามัญศึกษาชั้นประถมและมัธยม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
๑๕. หลักสูตรสำหรับโรงเรียนผู้หญิง ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐)
๑๗. หลักสูตรมูลศึกษา ร.ศ. ๑๒๘ สำหรับเรียนชั่วระยะเวลา ๒ หรือ ๓ ปี อายุแต่ปีที่ ๗ ถึงปีที่ ๙
บทสรุป
การปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้การจัดการศึกษาไทยมีความเป็นระเบียบแบบแผน ทัดเทียมอารยประเทศ การจัดการศึกษาไทยในอดีตที่มีวัด วัง บ้าน เป็นสถานที่เล่าเรียน มีพระ มีราชครู เป็นผู้สอน สอนในสิ่งที่อยากจะสอน ไม่มีเวลาแน่นอน สำหรับคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น การจัดการศึกษาของไทยในยุคนี้มีความชัดเจน เป็นการจัดการศึกษาแผนใหม่ คือ มีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเป็นสถานที่เล่าเรียน มีฆราวาสเป็นครู มีหลักสูตรกำหนดเนื้อหาที่จะเรียน จะได้กำหนดเวลาที่จะเรียนจะสอน มีแบบเรียนและมีการสอบ มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบในการจัดการศึกษาของชาติ และมุ่งให้เด็กไทยทุกคน ไม่ว่าหญิงหรือชายได้รับการศึกษา
ผู้เรียบเรียง อาจารย์สุชาติ วงศ์สุวรรณ
อาจารย์จุฑามาศ สรวิสูตร