ยุคที่ ๔

ยุคที่ ๔

ยุคที่ ๔ พัฒนาคน            

เป็นคนดีประกอบอาชีพได้

แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๐๓

สาระสำคัญ

  • เน้นองค์ ๔ แห่งการศึกษา (พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และ พลศึกษา)
  • แบ่งการศึกษาเป็น ๔ ระดับ คือ อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
  • จัดระบบการศึกษา เป็น ๗:๓:๒ (ประถมศึกษา ๗ ปี มัธยมศึกษาตอนต้น ๓ ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย ๒ ปี
  • ระดับประถมศึกษา แบ่งเป็น ประถมศึกษาตอนต้น ๔ ปี และประถมศึกษาตอนปลาย ๓ ปี
  • จัดการศึกษาบังคับ ให้อยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์บังคับ (อายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์เป็นอย่างน้อย)
  • มัมธยมศึกษาจัดเป็นสายสามัญและสายอาชีพ

ฯลฯ

 

 

 

หมายเหตุ

  • การวัดผลทุกหลักสูตร วัดผลเป็นรายปี แบ่งเป็น สอบกลางปีและสอบไล่ปลายปี คะแนนรวมร้อยละ ๕๐ ถือส่าสอบได้
  • หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษา แบ่งเป็น ๒ สาย สายสามัญ (๕ ปี) และสายอาชีพ (๖ปี)

 

หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘

  • หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘ มีทั้งหมด ๖ เล่ม
  • เปลี่ยนเวลาเรียนจากปีการศึกษาละ ๓ ภาคเรียน เป็น ๒ ภาคเรียน
  • มีการกำหนดค่าหน่วยกิจของรายวิชา
  • มีการกำหนดระดับผลการเรียน เป็น ๕ ระดับ คือ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔
  • เปลี่ยนการวัดผลจากวัดผลรายปี เป็น ตัดสินผลการเรียนจากรายวิชา โดยโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ
  • ยกเลิกการแบ่งสายสามัญและสายอาชีพ
  • มีการจัดโปรแกรมการเรียน

ฯลฯ