ยุคที่ ๖
ยุคที่ ๖ เตรียมคนสู่อนาคต
เป็นพลเมืองไทยและพลโลกมีความเป็นไทยและความเป็นสากล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒
สาระสำคัญ
- พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
- เน้นการศึกษาตลอดชีวิต
- ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา
- กำหนดมาตรฐานการศึกษา
- กำหนดการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี
- กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ฯลฯ
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
- เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
- กำหนดสาระและมาตรฐานกรเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
- กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ๔ ช่วงชั้น
- กำหนดเกณฑ์การผ่านช่วงชั้น และการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- แบ่งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็น ๓ ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถามศึกษา และระดับชาติ
- จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร เช่น สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
คู่มือการจัดทำหลักสูตรการศึกษา ฯลฯ
- สถามศึกษาจัดทำหลักสูตรสถามศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
- เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
- กำหนดวิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
- กำหนดเป็นตัวชี้วัดชั้นปี ในชั้น ป.๑-ม.๓ และตัวชี้วัดช่วงชั้น สำหรับ ม.๔-๖
- กำหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษา
- จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร เช่น ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร
- สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา