หลักสูตรสำหรับสามัญศึกษาชั้นประถมและมัธยม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)

หลักสูตรสำหรับสามัญศึกษาชั้นประถมและมัธยม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)

๑๓. หลักสูตรสำหรับสามัญศึกษา ชั้นประถมและมัธยม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)

ที่มา/ความสำคัญ

           หลังจากได้จัดทำแผนการศึกษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว ในแผนการศึกษาได้แบ่งการศึกษา เป็น ๒ สาย คือ สายสามัญศึกษา และสายวิสามัญศึกษา วิชาที่สอนอยู่ตามโรงเรียนได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมอยู่เสมอ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงได้จัดทำหลักสูตรสามัญศึกษาชั้นประถมและมัธยมขึ้นใหม่ มีการตัดและเติมวิชาให้เหมาะสม ตรงตามความต้องการของยุคสมัยนั้น ๆ และเป็นการกำหนดวิชาที่เรียนให้ชัดเจนตรงกัน

สาระสำคัญ/ผลที่เกิด

หลักสูตรสำหรับสามัญศึกษา ชั้นประถมและมัธยม ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) มีสาระสำคัญ ดังนี้

           ๑) แบ่งการศึกษาเป็น ๒ ระดับ คือ

               ๑.๑) หลักสูตรประถมศึกษา สำหรับสอบไล่ประกาศนียบัตรประโยค ๑ มี ๔ ชั้น

               ๑.๒) หลักสูตรมัธยมศึกษา มี ๓ ชั้น

           ๒) วิชาที่เรียน

               ๒.๑) หลักสูตรประถมศึกษา (ชั้น ๑ – ชั้น ๔) เรียน

                  ๒.๑.๑) วิชาหนังสือ : การอ่าน เขียน อักขรวิธี ศัพท์

                  ๒.๑.๒) วิชาเลข : บวก ลบ คูณ หาร โจทย์ สูตรคูณ เครื่องหมาย และเศษส่วน

                  ๒.๑.๓) ภาษา : ดูจากหนังสือที่เลือกเรียน แล้วตอบข้อคำถาม ไวยกรณ์

                  ๒.๑.๔) จรรยา : ศีล ธรรม ความประพฤติ

                  ๒.๑.๕) ความรู้เบ็ดเตล็ด : เรียนจากของจริงตามแต่ครูจะเลือกสอน ชั้น ๒ เพิ่มภูมิศาสตร์ บทเรียนด้วยสิ่งของ และ ชั้น ๓ เพิ่มบัญชี เนื้อหาจะยากขึ้นตามชั้นที่สูงขึ้น

               ๒.๒) หลักสูตรมัธยมศึกษา แบ่งเป็น ๓ ชั้น ทุกชั้นมีวิชาเรียน ๑๐ วิชา ได้แก่

                  ๒.๒.๑) จรรยา : ศีล ธรรม ความประพฤติ

                  ๒.๒.๒) วิชาหนังสือไทย : อ่าน คัด เขียน แปล

                  ๒.๒.๓) ภาษาไทย : ไวยากรณ์ แต่งบรรยาย เรียงความ ย่อความ

                  ๒.๒.๔) คำนวณวิธี : เลข บวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน โจทย์ คิดเลขในใจ บัญชี ยุคลิด

                  ๒.๒.๕) ภูมิศาสตร์และพงศาวดาร : สยามประเทศและประเทศอื่น ๆ แผนที่

                  ๒.๒.๖) ภาษาอังกฤษ : อ่าน เขียน แปล

                  ๒.๒.๗) วิทยา : ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

                  ๒.๒.๘) ศิลปะ

                  ๒.๒.๙) สมาคมบริหาร : ความเป็นผู้ดี กิริยามารยาท ราชาศัพท์

                  ๒.๒.๑๐) กายบริหาร : ระเบียบแถว การออกกำลัง ยิมนาสติก

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

           หลักสูตรกรมศึกษาธิการ สำหรับสามัญศึกษาชั้นประถม และมัธยม ร.ศ. ๑๒๔