แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๒

แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๒

๑๖. แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๒

ที่มา/ความสำคัญ

           เนื่องจากการจัดการศึกษาในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงธรรมการ กระทรวงนครบาล กระทรวงมหาดไทย ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กระทรวงธรรมการซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่วางหลักสูตร ระเบียบต่าง ๆ กำกับดูแลให้โรงเรียนปฏิบัติ และทำหน้าที่ไล่วิชาด้วย จึงได้มีการปรับปรุงแผนการศึกษา และประกาศใช้แผนการศึกษา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒

สาระสำคัญ/ผลที่เกิด

           แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๒ มีสาระสำคัญ ดังนี้

           ๑) แบ่งการศึกษาเป็น ๔ ระดับ ดังนี้

               ๑.๑) มูลศึกษา เป็นการศึกษาบังคับที่ต้องเรียนทุกคน กำหนดเวลาเรียน ๓ ปี

               ๑.๒) ประถมศึกษา กำหนดเวลาเรียน ๓ ปี

               ๑.๓) มัธยมสามัญ กำหนดเวลาเรียน ๓ ปี

               ๑.๔) มัธยมพิเศษ กำหนดเวลาเรียน ๓ ปี

           ๒) กำหนดอายุของผู้เรียนสำหรับการศึกษาชั้นต่าง ๆ ดังนี้

               ๒.๑) มูลศึกษาควรเรียนจบภายในเขตอายุ ๙ ปี

               ๒.๒) ประถมศึกษา ควรเรียนจบภายในเขตอายุ ๑๒ ปี

               ๒.๓) มัธยมศึกษา ควรเรียนจบภายในเขตอายุ ๑๒ ปี

               ๒.๔) มัธยมพิเศษ ควรเรียนจบภายในเขตอายุ ๑๒ ปี

           ๓) กำหนดให้มีหลักสูตรมัธยมสูงอีก ๓ ปี ต่อจากหลักสูตรมัธยมสามัญ นักเรียนที่จบมัธยมสูงเป็นความรู้เทียบเท่าชั้นต้นของมหาวิทยาลัย (อุดมศึกษา)

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

           แผนการศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๒