หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑
๙. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑
ที่มา/ความสำคัญ
กระทรวงธรรมการได้แก้ไขหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้เหมาะสม และชัดเจนสำหรับผู้เรียนจบมัธยมศึกษาตอนกลาง แล้วประสงค์จะศึกษาต่อวิชาชีพ และเป็นความสะดวกสำหรับโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนให้มี ๒ แผนก หรือ ๓ แผนกก็ได้ ตามกำลังของโรงเรียนนั้น
สาระสำคัญ/ผลที่เกิด
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑ แบ่งออกเป็น ๓ แผนกคือ
๑) แผนกกลาง เหมาะสำหรับผู้จะไปเรียนกฎหมาย อักษรศาสตร์ หรือเข้ารับราชการ แผนกธุรการทั่วไป
๒) แผนกภาษา เรียนรู้หนักไปทางภาษา เหมาะสำหรับผู้เรียนที่จะศึกษาต่อด้านอักษรศาสตร์
ในต่างประเทศ
๓) แผนกวิทยาศาสตร์ เรียนรู้หนักไปทางวิทยาศาสตร์ เหมาะสำหรับผู้จะไปเรียนต่อเป็นแพทย์ ทหาร วิศวกร
ทั้ง ๓ แผนกเรียนวิชาชื่อเดียวกัน แต่เนื้อหามากน้อยต่างกัน ดังจำนวนชั่วโมงที่ปรากฏในตารางนี้
วิชา |
จำนวน ชั่วโมง เรียน : สัปดาห์ |
หมายเหตุ |
||
แผนกกลาง |
แผนกภาษา |
แผนกวิทยาศาสตร์ |
||
๑. จรรยา ๒. ภาษาไทย ๓. ภาษาต่างประเทศ ๔. ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ๕. คำนวณ ๖. วิทยาศาสตร์ ๗. พลศึกษา |
๑ ๕ ๙ (เลือก ๑ ) ๓ ๖ ๒ (เลือก ๑) ๒ |
๑ ๕ ๑๓ (เลือก ๒ ) ๓ ๒ ๒ (เลือก ๑) ๑ |
๑ ๔ ๗ (เลือก ๑ ) - ๗ ๗ (เลือก ๓ ) ๑ |
- การประชุม - กีฬา - พระพุทธศาสนา ใช้เวลานอกเหนือจากนี้ |
รวมชั่วโมง |
๒๗ |
๒๗ |
๒๗ |
|
เลือกใน ( ) หมายถึง เลือกเรียน
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๑