หลักสูตรประถมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑
๑๔. หลักสูตรประถมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑
ที่มา/ความสำคัญ
หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑ มีความมุ่งหมายให้เด็กที่เริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อ่านออกเขียนได้โดยรวดเร็ว และให้เด็กที่เรียนในชั้นประถมปีที่ ๒ – ๔ ได้เรียนวิชาตามอัตภาพ เป็นพื้นฐานในการทำงานและประกอบอาชีพได้
สำหรับหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่ประสงค์จะเข้าเรียนเตรียมอุดมศึกษามีมากเกินกว่าที่โรงเรียนเตรียมของสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่จะรับได้หมด กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องเปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาในโรงเรียนมัธยมมากขึ้น จำเป็นต้องมีหลักสูตรของกระทรวงเป็นบรรทัดฐานในทางปฏิบัติของโรงเรียน รวมถึงการสอบไล่ที่กระทรวงศึกษาธิการเป้นผู้จัดสอบ
สาระสำคัญ/ผลที่เกิด
๑) หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑ มีความมุ่งหมายสำหรับเด็กที่เข้าเรียนไม่มีพื้นความรู้ทางหนังสือมาก่อน มีอายุไม่ต่ำกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ ทำให้อ่านออกเขียนได้รวดเร็วขึ้น เวลาเรียนไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ๔ ปี ปีละ ๒๐๐ วัน สัปดาห์ละ ๖ วัน รวม ๒๘ ชั่วโมง
วิชาที่เรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สำคัญคือ แยกวิชาหน้าที่พลเมืองกับศีลธรรม และมีเนื้อหาให้เลือกเรียนในวิชาการฝีมือและการงาน สัปดาห์ละ ๖ ชั่วโมง
๒) หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑ มีความมุ่งหมายให้เป็นหลักสูตรสามัญศึกษาต่อจากหลักสูตรมัธยมปลาย มีกำหนดเวลาเรียน ๒ ปี แต่ละปีเรียนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ วัน แต่ละสัปดาห์เรียนไม่น้อยกว่า ๒๕ ชั่วโมง และไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง
หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น ๒ แผนกวิชา คือ แผนกอักษรศาสตร์ และ แผนกวิทยาศาสตร์ ทั้ง ๒ แผนก เรียนเป็นหมวดวิชา เนื้อหาวิชาและเวลาเรียนแต่ละหมวดวิชาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะวิชาเฉพาะแผนกประกอบด้วยวิชาบังคับและวิชาเลือก ทำให้เห็นว่า ผู้เรียนแผนกเดียวกันสามารถเลือกวิชาที่สนใจจะไปเรียนต่อได้อย่างเหมาะสม ดังตารางแสดงวิชาที่เรียน และเวลาเรียน ดังนี้
หมวดวิชา |
จำนวนชั่วโมงของแผนก |
|
อักษรศาสตร์ |
วิทยาศาสตร์ |
|
หมวดที่ ๑ ภาษาไทย หมวดที่ ๒ สังคมศึกษา หมวดที่ ๓ คณิตศาสตร์ หมวดที่ ๔ ภาษาอังกฤษ หมวดที่ ๕ วิชาเฉพาะแผนก
วาดเขียน |
๔ ๓ – ๔ ๕ ๗ – ๘ ๕ – ๖ วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ภาษาบาลี ฝรั่งเศส จีน
๑ |
๓ ๓ – ๔ ๖ – ๗ ๖ ๖ – ๗ ความร้อน แสงสว่าง แม่เหล็กไฟฟ้า เคมี - กลศาสตร์ ไฮโดรสตาติก - ชีววิทยา ๑ |
การสอบไล่ กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดำเนินการสอบไล่ชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ ผู้สอบได้คะแนนรวมร้อยละ ๕๐ และคะแนนรายหมวดวิชา ร้อยละ ๓๓ ทุกหมวด ถือว่า สอบได้
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
๑) หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑
๒) หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๑
๑๕. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๙๓
ที่มา/ความสำคัญ
แม้ว่าจะเปลี่ยนคณะรัฐบาลหลายคณะและอยู่ในภาวะหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ รัฐบาลทุกคณะก็ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาให้พลเมืองได้รับการศึกษาโดยทั่วหน้า พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้ประกาศงดเก็บค่าเล่าเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๖ ลงมา และออกระเบียบฯ ว่าด้วยการส่งเสริมทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนประชาบาลและเทศบาล ส่งเสริมการศึกษาทุกส่วน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ หลักสูตรสามัญได้มีการปรับปรุงเป็นหลักสูตรประถมศึกษา ๒๔๙๑ จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายให้สอดคล้องกัน
สาระสำคัญ/ผลที่เกิด
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๙๓ ใช้เวลาเรียน ๖ ปี ตอนต้น ๓ ปี และตอนปลาย ๓ ปี มุ่งให้เป็นการศึกษาของทวยราษฎร์อย่างแท้จริง เรียนวิชาที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย
อัตราเวลาเรียนยังคงเดิม สัปดาห์ละ ๓๐ ชั่วโมง รอบสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียน ๖ วัน ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมงต่อปี ส่วนนอกเวลาเรียนให้ทำกิจกรรมตามดุลพินิจของครูใหญ่ เช่น การประชุมอบรม การศึกษานอกสถานที่ เช่น ลูกเสือ เป็นต้น
วิชาที่เรียนยังคงเป็นวิชาเดียวกับหลักสูตรเดิม แต่มีการปรับปรุงดังนี้
๑) แยกหน้าที่พลเมืองออกจากศีลธรรม จึงเพิ่มเวลาเรียนอีก ๑ ชั่วโมง เนื้อหาของวิชาหน้าที่พลเมืองที่เพิ่มเติมคือ สิทธิเสรีภาพของพลเมือง การเลือกตั้ง การบริหารงานในส่วนกลาง ภูมิภาค และเทศบาล รวมทั้ง ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ และส่งเสริมอาชีพของคนไทย สถานที่และวัตถุที่สำคัญ ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง การทนุบำรุง และส่งเสริม
ส่วนเนื้อหาวิชาศีลธรรม เรียนประวัติพระพุทธศาสนา และธรรมจริยาในหัวข้อต่าง ๆ ตามหลักสูตรเดิม
๒) วิชาภาษาอังกฤษ เพิ่มเวลาเรียนอีก ๑ ชั่วโมง เป็น ๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ลดเวลาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ลง ๑ ชั่วโมง เป็น ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มเวลาเรียนวิทยาศาสตร์เป็น ๓ ชั่วโมง ลดเวลาเรียนภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์เป็น ๒ ชั่วโมง
สำหรับลูกเสือหรืออนุกาชาดและพลศึกษา ใช้เวลาเรียนร่วมกันแต่ลดชั่วโมงลงจาก ๓ ชั่วโมง เหลือ ๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๙๓