หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘
๑๗. หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘
ที่มา/ความสำคัญ
หลังการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเพิ่มองค์ประกอบของการศึกษาด้านหัตถศึกษา ครบ ๔ ส่วน คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา แม้ความพยายามที่จะขยายการศึกษาภาคบังคับให้เด็กได้เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนนานขึ้นจาก ๔ ปี เป็น ๗ ปี ยังไม่ประสบความสำเร็จในแผนฉบับนี้ แต่การออกแบบหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘ ก็มีทางเลือกให้ผู้เรียนสำหรับผู้ไม่สามารถเรียนต่อได้ นับว่าเป็นหลักสูตรที่มีพัฒนาการมากที่สุด คือ การปรับเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ชัดเจน จากวิชาเป็นหมวดวิชา จัดโครงสร้างเป็น ๒ ประเภท เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษา กำหนดจุดมุ่งหมายทั้งระดับหลักสูตร และระดับหมวดวิชาในรายการสอนแต่ละหมวดแต่ละเรื่อง ยังมีข้อแนะนำวิธีการสอนให้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้สอน ทั้งในด้านวิธีสอนใหม่ ๆ อุปกรณ์การสอนและเทคนิควิธีสอน แต่ก็อาจจะขัดกับความรู้และความเคยชินของครูก็ได้ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าเกินไป ทำให้หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘ ใช้เพียง ๕ เดือนก็ต้องยกเลิกไป
สาระสำคัญ/ผลที่เกิด
หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นหลักสูตรหมวดวิชามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความงอกงามของเด็กทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ เน้นองค์ ๔ ของการศึกษา คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา หมวดวิชาที่กำหนด คือ หมวดภาษาไทย เลขคณิต ธรรมชาติศึกษา (รวมสุขศึกษา) สังคมศึกษา กิจกรรมพิเศษ และวิชาชีพหรือภาษาต่างประเทศ โดยจัดเป็น ๒ ประเภท คือ ก และ ข ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ชั่วโมงเรียน และประเภท ข ต้องเลือกเรียนวิชาชีพหรือภาษาต่างประเทศ
เวลาเรียนลดลงเป็น ๕ วันต่อสัปดาห์ วันละ ๕ ชั่วโมง หรือ ๒๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนี้
จำนวนชั่วโมง หมวดวิชา |
ประเภท ก |
ประเภท ข |
||||||
ป. ๑ |
ป. ๒ |
ป. ๓ |
ป. ๔ |
ป. ๑ |
ป. ๒ |
ป. ๓ |
ป. ๔ |
|
หมวดภาษาไทย หมวดเลขคณิต หมวดธรรมชาติศึกษา (รวมสุขศึกษา) หมวดสังคมศึกษา กิจกรรมพิเศษ วิชาชีพหรือภาษาต่างประเทศ |
๗ ๕ ๓ ๕ ๕ - |
|
|
|
๗ ๓ ๒ ๔ ๔ ๕ |
|
|
|
|
๒๕ |
|
|
|
๒๕ |
|
|
|
หมายเหตุ ประเภท ข คือ หลักสูตรที่ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาชีพหรือภาษาต่างประเทศ ถ้าโรงเรียนจะใช้หลักสูตรนี้
ให้ขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน
แต่ละหมวดวิชากำหนดความมุ่งหมายในภาพรวมตลอด ๔ ปี ในแต่ละชั้นปีจะกำหนดรายการสอนและข้อแนะนำวิธีสอนควบคู่กันไป หลักสูตรยังมีบัญชีคำเบสิก ซึ่งสำรวจมาจากคำพูดของเด็กอายุย่างเข้าปีที่ ๘ ทุกภาคทั่วประเทศ เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย บัญชีคำเบสิกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการเรียนชั้น ป. ๑ ซึ่งกำหนดว่า ไม่มีการสอบเลื่อนชั้นปลายปี แต่ในหมวดภาษาไทย นักเรียนต้องเรียนคำเหล่านี้อย่างน้อย ๕๕๐ คำ
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘