หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘

หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘

๑๘. หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘

ที่มา/ความสำคัญ

           กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาสมัยใหม่และเหมาะสมกับกาลสมัยมากขึ้น เพราะการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากขึ้นและขยายสาขาอาชีพออกไปอีกมาก จึงจำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับศึกษาต่อในแขนงต่าง ๆ และเป็นการสำรวจความถนัดของนักเรียนที่จะเลือกเรียนตามอัตภาพของตน หลักสูตรไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก ยังคงแบ่งเป็น ๒ แผนก คือ อักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่มีวิชาเลือกมากขึ้น สอดคล้องกับสาขาอาชีพในระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘ ประกาศใช้เฉพาะชั้นปีที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และใช้ตลอดหลักสูตรใน พ.ศ. ๒๔๙๙ แต่เนื่องจากมีปัญหายุ่งยากในการนำหลักสูตรไปใช้ กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศยกเลิกหลักสูตรในปีนั้นเอง

สาระสำคัญ/ผลที่เกิด

           หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นหลักสูตรวิสามัญ เรียนต่อจากชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กำหนดเวลาเรียน ๒ ปี เพื่อเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา หลักสูตรยังคงแบ่งเป็น ๒ แผนก คือ แผนกอักษรศาสตร์ และแผนกวิทยาศาสตร์

           การเลือกเรียนแต่ละแผนก หลักสูตรได้เสนอแนวทางเพื่อเรียนต่อระดับอุดมศึกษาได้ ดังนี้

           ๑) แผนกอักษรศาสตร์ สามารถเรียนต่อด้านอักษรศาสตร์ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ บัญชี สังคมสงเคราะห์ ฯลฯ

           ๒) แผนกวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนต่อด้านวิทยาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ฯลฯ

           ทั้งสองแผนกมีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ในจำนวนชั่วโมงที่แตกต่างกัน ในสัปดาห์หนึ่งเรียนไม่เกิน ๓๐ ชั่วโมง และยังมีกิจกรรมนอกหลักสูตรที่โรงเรียนควรส่งเสริม โดยใช้เวลานอกอัตราเวลาเรียนที่กำหนด

           การวัดผลการศึกษามีระเบียบของกรมวิสามัญศึกษากำหนด ทั้งการวัดผลโดยทั่วไปและการสอบไล่เพื่อรับประกาศนียบัตร

 

ตารางแสดงวิชาบังคับ/เลือก และอัตราเวลาเรียน

หมวดวิชา

รายชื่อวิชา

อัตราการเรียนต่อสัปดาห์

แผนกอักษรศาสตร์

แผนกวิทยาศาสตร์

ปีที่ ๑

ปีที่ ๒

ปีที่ ๑

ปีที่ ๒

วิชาบังคับ

๑. ภาษาไทย

๒. ภาษาอังกฤษ

๓. สังคมศึกษา ข.

๔. คณิตศาสตร์     ๑ ก

                        ๑ ข

๕. คณิตศาสตร์     ๒ ก

                        ๒ ข

๖. ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ๑

๗. ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ๒

๘. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่ ๒) ๑

๙. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่ ๒) ๒

๑๐. ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์

 ๒

๑๐

-

-

-

-

-

-

-

๑๐

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วิชาเลือก

๑. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่ ๒) ๑

๒. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาที่ ๒) ๒

๓. ศิลปศึกษา ๑

๔. ศิลปศึกษา ๒

๕. สังคมศึกษา ก

๖. คณิตศาสตร์ ๒ ข

๗. วิทยาศาสตร์ทั่วไป ๑

๘. วิทยาศาสตร์ทั่วไป ๒

๙. วิชาเลขานุการ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

 

หมายเหตุ     อักษรย่อ ก หมายความว่า เป็นวิชาสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์

อักษรย่อ ข หมายความว่า เป็นวิชาสำหรับแผนกอักษรศาสตร์

เลข ๑ ต่อท้ายชื่อวิชา หมายความว่า เป็นเบื้องต้นวิชานั้น

เลข ๒ ต่อท้ายชื่อวิชา หมายความว่า เป็นเบื้องปลายวิชานั้น

 

วิชาภาษาต่างประเทศภาษาที่ ๒ อาจเลือกภาษาใดภาษาหนึ่งจาก ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลีภาษาเยอรมัน ภาษาจีน แต่ละภาษาแบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนที่ ๑ เป็นการเริ่มต้น ตอนที่ ๒ ต่อจากตอนที่ ๑ ตามลำดับ

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

           หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๘