หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุง ป. ๑ – ๒ พ.ศ. ๒๕๐๑

หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุง ป. ๑ – ๒ พ.ศ. ๒๕๐๑

๑๙. หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุง ป. ๑ – ๒ พ.ศ. ๒๕๐๑

ที่มา/ความสำคัญ

          องค์การยูเนสโกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจภาวะการศึกษาของประเทศไทย พบว่า คุณภาพการศึกษายังไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งหลักสูตร แบบเรียน อุปกรณ์การเรียน วิธีสอน การบริหารจัดการยังล้าหลังอยู่มาก ทำให้นักเรียนที่เรียนจบ ไม่มีพื้นความรู้และความชำนาญที่จะออกไปประกอบอาชีพ ไม่สนใจหาความรู้เพิ่มเติมจึงต้องมีการปรับปรุง โดยทดลองโครงการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง ในเรื่องการปรับปรุงหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรประถมศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้แต่งตั้งกรรมการดำเนินงานปรับปรุงหลักสูตรขึ้น หลักสูตรเดิมเน้นหนักทางด้านพัฒนาความเจริญงอกงามด้านสติปัญญา ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ทางหนังสือ แต่บัดนี้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องขยายความมุ่งหมายให้กว้างกว่าเดิม เพราะการที่จะให้พลเมืองมีความเหมาะสมในสังคมประชาธิปไตย จะใช้ความรู้ทางหนังสือเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้มีความเจริญและความสามารถทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม พร้อมกันทุกด้าน โดยคำนึงถึงสภาพธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศด้วย โดยสมควรได้รับการฝึกฝนแต่เยาว์วัย ทำให้เขาได้คุ้นเคยกับวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมประชาธิปไตย เพื่อจะได้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมนั้นต่อไป

สาระสำคัญ/ผลที่เกิด

หลักสูตรประถมศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความงอกงามของเด็กในทางต่าง ๆ เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่เหมาะสมในระบอบสังคมประชาธิปไตย

เกณฑ์รับเด็กเข้าเรียนและเวลาเรียน ผู้เข้าเรียนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๖ ปีบริบูรณ์ มีเวลาเรียนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๕ วัน หรือ ๒๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ปีหนึ่งมีการเรียนไม่น้อยกว่า ๓๔ สัปดาห์ แต่ละหมวดวิชากำหนดเวลาเรียน ดังนี้

 

หมวดวิชา

จำนวนชั่วโมงในรอบสัปดาห์

ประถมปีที่ ๑

ประถมปีที่ ๒

สังคมศึกษา

ธรรมชาติศึกษา

ภาษาไทย

เลขคณิต

ศิลปศึกษา

พลานามัย

รวม

๒๕

๒๕

หมายเหตุ เวลาเรียนอาจเปลี่ยนแปลงได้ หมวดวิชาละไม่เกิน ๑ ชั่วโมง แต่รวมเวลาแล้วต้องได้ ๒๕ ชั่วโมง

 

           นอกจากตัวหลักสูตรแล้ว ยังมีบัญชีแบบเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย

           ๑. แบบเรียนภาษาไทย เลือก ๑ เล่ม จากรายชื่อที่กำหนด

           ๒. แบบเรียนอื่น ๆ ในหมวดคณิตศาสตร์ สังคม ธรรมชาติศึกษา และพลานามัย

           ๓. หนังสืออ่านประกอบ ให้โรงเรียนจัดหาไว้ให้เด็กอ่าน

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

           หลักสูตรประถมศึกษาสำหรับใช้ในโรงเรียนปรับปรุงชั้นประถมปีที่ ๑ และ ๒